วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบดมินตัน ประเภทคู่

ในการแข่งกีฬาประเภททีมทุกประเภทนั้น ผลงานของทีมจะออกมาดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่ว่าการประสานงานของผู้เล่นในทีมจะดีเพียงใด แต่พูดได้ว่าไม่มีการแข่งกีฬาประเภททีมใด ๆ อีกแล้วที่จะต้องอาศัยความเข้าใจระหว่างผู้เล่นมากเป็นพิเศษอย่างกีฬาแบดมินตันในประเภทคู่ตำแหน่งการยืนในการเล่นแบดมินตันประเภทคู่การประสานงานของนักแบดมินตันประเภทคู่จะลงตัวมากน้อยแค่ไหนนั้น สิ่งแรกที่จะบอกได้ก็คือ การยืนตำแหน่งและการสลับตำแหน่ง การยืนตำแหน่งในแบดมินตันประเภทคู่มีแบบหลัก ๆ ก็คือการยืนแบบหน้า-หลัง, การยืนแบบซ้าย-ขวาและการยืนแบบหมุนวน1. การยืนแบบหน้า-หลัง มักจะใช้ในเวลาที่ฝ่ายเราต้องทำการส่งลูก คนที่ส่งลูกจะยืนอยู่ข้างหน้า ส่วนอีกคนหนึ่งจะยืนอยู่กลางคอร์ทหรือไม่ก็หลังคอร์ทเพื่อคอยรับลูกที่ฝั่งตรงข้ามจะตีกลับมา2. การยืนแบบซ้าย-ขวา มักจะใช้เวลาที่ฝ่ายเราต้องคอยรับลูกจากฝ่ายตรงข้าม หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ถูกฝั่งตรงข้ามจู่โจมอย่างหนัก ก็จะต้องใช้การยืนเช่นนี้เพื่อตั้งรับ เวลาที่ฝั่งตรงข้ามเป็นฝ่ายส่งลูกหรือตีลูกยาวกลับมาในแดนของฝั่งเรา ฝั่งเราทั้งสองคนจะต้องรับผิดชอบพื้นที่คนละฝั่ง3. การยืนแบบหมุนวน การยืนแบบหน้า-หลังและการยืนแบบซ้าย-ขวาเมื่อต้องมีการสลับระหว่างสองแบบนี้จะเรียกว่าการยืนแบบหมุนเวียนในการแข่งขันแบดมินตันประเภทเดี่ยว นักแบดมินตันประเภทเดี่ยวเพียงแค่ต้องแสดงความสามารถของตนให้ดีที่สุดก็จะได้รับชัยชนะ แต่ในการแข่งขันประเภทคู่ไม่ง่ายดายเหมือนเช่นนั้น ในชั่วเวลาเพียงพริบตาเดียว นักแบดมินตันทั้ง 4 คนในประเภทคู่จะมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งมากกว่านักแบดมินตันประเภทเดี่ยว 2 คนหลายเท่าตัว ถ้าความสามารถของนักแบดที่จับคู่กันไม่บาลานซ์ หรือนักแบดคนใดคนหนึ่งเล่นแบบเอาแต่ใจตนจนมองข้ามการเล่นประสานงานกับคู่ของตน นอกจากจะส่งผลให้การประสานงานไม่ดีแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็จะรบกวนซึ่งกันและกันอีกด้วย เช่น ไม้แบดบวกกันหรือไม่ก็วิ่งชนกันเอง, ยืนบังทางเพื่อนร่วมทีม, ยืนผิดตำแหน่งจนทำให้เกิดช่องโหว่ให้คู่ต่อสู้โจมตี ฯลฯดังนั้นแล้ว ในการแข่งขันประเภทคู่นั้น กลยุทธที่เราจะพบมากก็คือ “ โจมตีเฉพาะบุคคล “ กล่าวคือ ถ้าเราพบว่านักแบดฝั่งตรงข้ามทั้งสองคนมีความสามารถไม่เท่าเทียมกัน เราก็สามารถเลือกใช้กลยุทธการบุกแบบ “ 2 รุม 1 “ โดยเลือกโจมตีใส่นักแบดมินตันที่ฝีมืออ่อนกว่า ความสามารถและอุปนิสัยส่วนบุคคลการเล่นในประเภทคู่นั้น การผสมผสานระหว่างความสามารถและอุปนิสัยส่วนบุคคลของผู้เล่นทั้งสองคนก็เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งดูได้จากการเล่นของกู้จวิ้นและเก๋อเฟย, กู้จวิ้นนั้นถึงแม้จะเตี้ยกว่าเก๋อเฟยแต่เธอมีพละกำลังดี เธอสามารถวิ่งได้ทั่วทุกพื้นที่ของสนามและเธอยังมีลูกตบที่รุนแรงอีกด้วย ดังนั้นกู้จวิ้นจึงมักจะปักหลักในแดนหลังที่มีพื้นที่รับผิดชอบกว้างเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเก๋อเฟยที่มีไหวพริบเยี่ยมนั้นจะรับผิดชอบพื้นที่แดนหน้าเพื่อดักลูกหน้าเน็ต นอกจากนี้เธอยังคอยจับตามองการเคลื่อนไหวของฝั่งตรงข้ามอีกด้วย เมื่อใดที่ฝั่งตรงข้ามเผยจุดอ่อนให้โจมตี เธอก็จะรีบชิงจู่โจมทันทีและเมื่อดูจากอุปนิสัย กู้จวิ้นในบางเวลาจะค่อนข้างร้อนรนมากเกินไป แต่เก๋อเฟยจะค่อนข้างสุขุมมากกว่า ในช่วงแต้มสำคัญระหว่างการแข่งขัน เก๋อเฟยจะคอยคุมอารมณ์ของกู้จวิ้นไม่ให้เร่งเกมส์มากเกินไป แต่ในทางกลับกัน การเล่นแบบดุดันและรวดเร็วของกู้จวิ้นก็ทำให้เก๋อเฟยคึกคักตามไปด้วยเช่นกัน ความแตกต่างของทั้งสองคนจึงกลับกลายเป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกันไปโดยปริยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น