วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กติกาใหม่ ระบบนับคะแนน 3 x 21 (Rally Point)


สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป

รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้

1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม

2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ

3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป

4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม

5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก

ลูกหลักในกีฬา แบดมินตัน

ลูกหลักในกีฬาแบดมินตัน แบ่งออกได้เป็น 4 จำพวกใหญ่ ๆ คือ

- ลูกโยน (Lob or Clear)
- ลูกตบ (Smash)
- ลูกดาด (Drive)
- ลูกหยอด (Drop)


ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเล่นหัดใหม่ หรือเล่นถึงระดับแชมเปี้ยน คุณก็หนีการเล่นลูกจำพวกนี้ไม่พ้น เป็นลูกหลักอันเป็นแม่บทของการเล่นแบดมินตัน แต่ละจำพวกของการตีลูกที่กล่าวมานี้ จะมีวิธีการตี การวางเท้าหรือฟุตเวิร์ค กับจังหวะการตีลูกที่แตกต่างกัน
ผู้เล่นที่ชำนาญแล้ว จะสามารถตีและบังคับลูก 4 จำพวกนี้ ให้ข้ามตาข่ายไปด้วยความหลากหลาย อาจจะมีความแตกต่างกันในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เช่น วิถี ความเร็ว ความยาว ความกว้าง ความสูง ความลึก การฉีกมุม ความหนัก แรง เบา ความเฉียบคม ถ้าทำอย่างนี้ได้ และสามารถนำเอาความหลากหลายไปใช้ในสถานการณ์ที่ถูกต้องนั่นคือศิลปสุดยอด ของการเล่นกีฬาแบดมินตันที่จะยังผลให้ผู้เล่นมีสไตล์หลากหลายของการตีลูก (Varieties of Strokes) ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งคิดไม่ถึง เดาไม่ออกว่าเราจะส่งลูกข้ามไปในลักษณะใด แต่ละลูกที่ตีข้ามไปนั้น ล้วนแต่แฝงไปด้วยอัตราส่วนแห่งการหลอกล่อ(Deception)แฝงอยู่ในตัวอย่างมีประสิทธิพล สร้างแบบฉบับเกมเล่นแบดมินตันของตนเองให้เข้มแข็ง มีสไตล์การเล่นในเชิงรุก ดุดัน ยากแก่การพ่ายแพ้

ลูกโยน (Lob or Clear)คือ ลูกที่ตีพุ่งโด่งข้ามไปในระดับสูง และย้อยตกลงมาในมุม 90 องศาในแดนตรงข้าม เป็นลูกที่ตีจากเหนือศีรษะ หรือ Overhead หรือจะงัดจากล่าง หรือ Underhand ก็ได้ ตีได้ทั้งหน้ามือ โฟร์แฮนด์ และหลังมือ แบ็คแฮนด์


ลักษณะการตีลูกโยน หรือ ลูกโด่ง

ลูกโยน เป็นลูกเบสิคขั้นพื้นฐาน นักเล่นหัดใหม่จะเริ่มจากการหัดตีจากลูกโยน จึงเป็นลูกเบสิคที่สุดในกีฬาแบดมินตัน มองเผิน ๆ แล้วส่วนมากจะคิดว่า ลูกโยนเป็นลูกที่ใช้สำหรับแก้ไขสถานการณ์ โยนลูกข้ามไปสูงโด่งมากเท่าใด ก็จะมีเวลาสำหรับการกลับทรงตัวของผู้เล่นมากเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ลูกโยนอาจจะใช้สำหรับเป็นการเล่นในเชิงรุกก็ได้ เช่น การตีลูกโยนแบบพุ่งเร็วจี้ไปยังมุมหลังทั้งสองด้าน (Attacking Clear) จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามตกเป็นฝ่ายรับ ถ้าอยู่ในสถานการณ์เสียหลักจวนตัว จะทำให้การแก้ไขกลับการทรงตัวได้ยากยิ่งขึ้น
ลูกโยน มีจังหวะการตีคล้ายคลึงกับการตบลูก แต่ไม่ต้องใช้แรงกดมากเท่า แทนที่จะตีกดลูกลงต่ำ กลับเป็นการตีเสยลูกให้พุ่งโด่งขึ้นไปด้านบน สุดแท้แต่ว่าผู้เล่นจะบังคับให้ลูกพุ่งข้ามไปในระดับ วิถี ความเร็วตามต้องการลูกโยนที่ข้ามไปอย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องมีแรงวิ่งไกลถึงสุดสนามตรงข้าม และต้องไม่ดาดจนคู่แข่งสามารถดักตะปบตีลูกได้ครึ่งทาง ลูกโยนที่ไม่ถึงหลัง หรือตีเข้าสู่มือคู่ต่อสู้ จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบการตีลูกโยน ให้กลับไปดูบทก่อน ๆ ที่ว่าด้วยการตีลูก แรงของการตีลูก และจังหวะฟุตเวิร์คของการตีลูก ฝึกฝนให้ดีจนสามารถจับจังหวะการเหวี่ยงตีลูกโยนไปถึงด้านหลังของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างง่าย ๆ และสบาย ๆ ในจังหวะ วิถี และระดับที่เราสามารถบังคับให้ลูกข้ามไปตามที่เราต้องการซูซี่ ซูซานติ แชมเปี้ยนโลกเดี่ยวหญิง และแชมเปี้ยนเหรียญทองโอลิมปิคหญิงเดี่ยวคนแรกของโลกจากอินโดนีเซีย มีลูกโยนที่เล่นได้เยี่ยมสุดยอด ลูกโยนของเธอตีง่าย ๆ ตีเนิบ ๆ แต่หนักแน่นและลึกถึงหลัง เธอสามารถตีป้อนโยนเข้ามุมหลังทั้งสองข้างได้ลึก และแม่นยำ จึงทำให้เธอได้ครองความเป็นราชินีแห่งการเล่นเดี่ยวหญิงของโลกอย่างต่อเนื่องหลายปีด้วย

ลูกโยน อาจจะแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

- ลูกโยนหน้ามือ (Forehand Clear)
- ลูกโยนหลังมือ (Backhand Clear)
- ลูกงัดโยน (Underhand Clear)

ลูกโยนหน้ามือแรงตีเกิดจากการประสานของแรงเหวี่ยง แรงตวัด การสะบัดของลำแขน ข้อมือ จังหวะฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง บวกกับการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงวินาทีที่ถูกจังหวะจะโคน รวมแรงดีด ผลัก ดันให้ลูกพุ่งสูงโด่งไปยังสนามตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ต้องการ (ดูภาพสาธิตประกอบ)
ลูกโยนหลังมือแรงตีเกิดจากการประสานงานเช่นเดียวกับการตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คสลับกัน และไม่มีแรงโถมที่มาจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมาจากแรงเหวี่ยง แรงตวัด และการสะบัดของลำแขน กับข้อมือ เท่านั้น โดยเหตุที่การตีลูกหลังมือ แหล่งที่มาของแรงตีลูกมีจำกัด แรงเหวี่ยง แรงตวัดของลำแขนที่มาจากหัวไหล่ กับแรงที่เกิดจากการสะบัดข้อมือ จึงจำเป็นต้องประสานงานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นจังหวะเดียว
โดยทฤษฎีแล้ว ลูกหลังมือน่าจะเป็นลูกรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์มากกว่าเป็นลูกบุก แต่ถ้าฝึกตีลูกให้แรง และมีความคล่องแคล่วชำนาญ จะกลายเป็นการตีลูกที่ผู้เล่นสามารถสร้างเขี้ยวเล็บให้แก่การตีลูกหลังมือ ของตนกลายเป็นการเล่นเชิงรุก(Offensive Play)ได้ จังหวะของการดีด สะบัดข้อที่กระทำได้ในเสี้ยววินาทีกับแรงเหวี่ยงของแร็กเก็ตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นสามารถพลิกโฉมจากเกมรับเป็นเกมรุกได้ในบัดดล เพียงแต่บิดหน้าแร็กเก็ต เปลี่ยนจุดเป้าหมายการตี ลูกก็จะวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสัดส่วนของการเล่นลูกหลอก(Deceptive Play)ได้อย่างแพรวพราวด้วยลูกหลังมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนหลังมือกระแทกไปมุมหนึ่งมุมใดของสองมุมหลัง หรือแตะหยอดด้วยหลังมือ บังคับให้ลูกวิ่งเข้าสู่มุมซ้ายขวาด้วยความเร็ว หรือบางทีอาจจะใช้ข้อตวัดตบด้วยหลังมือขนานเส้น หรือทะแยงมุมก็สามารถจะทำได้
ลูกงัดโยนลูกงัด คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจากล่างสะบัดขึ้นด้านบน หรือ Underhand เป็นการช้อนตีลูกจากต่ำไปสู่สูง เป็นลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อกระตุกหรือสะบัดลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่างง่ายดาย ส่วนมากจะเป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนาม เช่น การเข้ารับลูกแตกหยอดหรือลูกหยอดที่ฝ่ายตรงข้ามส่งข้ามมา หรือการรับลูกตบ เป็นต้น
ลูกงัดใช้ตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้แรงตีมาจากการตวัด กระตุกหรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีจากแหล่งอื่น การตีลูกงัดผู้เล่นต้องยืดแขนและตีลูกสุดช่วงแขน
ลูกงัดบริเวณหน้าตาข่าย ถ้าเข้าประชิดลูกได้เร็ว มีโอกาสตีลูกในระดับสูง จะใช้เป็นลูกหลอกล่อคู่ต่อสู้ด้วยการเล่นลูกสองจังหวะ เหยียดแขนยื่นแร็กเก็ตออกไป จะทิ้งเป็นลูกหยอดก็ได้ หรือจะกระแทกลูกไปด้านหลังของสนามตรงข้ามก็ได้ จะเป็นการเล่นลูกหลอกสองจังหวะที่สำคัญอีกลูกหนึ่งในเกมเล่นแบดมินตันที่ผู้เล่นทุกคนจะมองข้ามไม่ได้
"ลักษณะของการเข้าประชิดตีลูกงัดโฟร์แฮนด์ และแบ๊คแฮนด์ หน้าแร็กเก็ตจะวางเหมือนกับการหยอดลูก ที่สามารถใช้เป็นลูกหลอกสองจังหวะด้วยการผลักลูกไปด้านหลังสนามแบบงัดดาดได้"
การงัดลูกแบ่งเป็นสองวิถีใหญ่ ๆ คือ การงัดลูกให้พุ่งข้ามไปโดยไม่โด่งนัก ใช้เป็นการงัดลูกแบบรุก อีกวิถีหนึ่งคือการงัดลูกโด่ง ดึงให้คู่ต่อสู้ไปด้านหลังสนาม เพื่อให้เวลาสำหรับการกลับทรงตัวสู่จุดศูนย์กลางได้มากขึ้น
ฝึกหัดตีลูกโยนตามหลักวิธีที่แนะนำมาถึงขั้นตอนนี้ โปรดอย่าลืมหลักขั้นพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อน ๆ ทุกครั้งที่ตีลูก จะต้องไม่ลืมหลักการตีลูกใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ หน้าแร็กเก็ตต้องตั้งให้ตรงขณะตีลูก ขณะที่แร็กเก็ตสัมผัสกระทบตีลูกนั้น แขนของผู้เล่นจะต้องเหยียดอยู่ในแนวตรงเสมอ วิ่งเข้าไปหาลูก อย่ารอให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา เข้าประชิดตีลูกในระดับสูงที่สุดเท่าที่เราสามารถจะทำได้ และ ต้องรู้จักดักลูก และเข้าปะทะ (Intercept) ลูกให้เร็วขึ้นเสมอ



วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประสิทธิภาพของ ไม้แบดยี่ห้อ Apacs Sport

จำหน่ายไม้แบดมินตัน ราคาส่งจาก มาเลเซีย
ยี่ห้อ Apacs ราคาถูกที่สุดในประเทศไทย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม TEL 081-699-0307